วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 18

วันที่ 30 กันยายน 2556

เวลา 14.10-17.30น.

สรุปวิจัย

เรื่องความสามรถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมกระบวนทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

       แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการจำแนก การเปรียบเทีนย การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์
จากการได้ออกมาเรียนรู้นอกห้องเรียน  เด็กจะได้มีโอกาศลงมือปฏิบัติ สำรวจหรือทดสอบต่างๆ ซึ่งเป็น
จุดเริ่มต้นในการหาความรู้ใหม่ๆ จะต้องประกอบไปก้วยกระบวนการสืบค้น หาความรู้จากเนื้อหาที่เกิดขึ้น
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสังเกตวิเคราะห์แยกแยะได้
2.เพื่อให้เด็กได้รับการเรียนรู้จำแนก เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่ การหาความสัมพันธ์
3.เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้
4.เพื่อให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อกรเรียนทางวิทยาศาสตร์
การจัดกิจกรม
1.แนะนำเนื้อหาการเรียนรู้ให้เด็กๆได้ทราบถึงการที่จะออกไปเรียนนอกห้องเรียน
2.ในขณะที่ครูพานักเรียนไปเรียนรู้นอกห้องเรียนคุณครูต้องบอกข้อตกลงก่อนที่จะพานักเรียนออกไป
เพื่อฝึกความมีะเบียบและต้องรู้กฏกติกาทุกครั้ง
3.เมื่อเรียนจบในแต่ละครั้งครูและนักเรียนสรุปในสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็น สัมผัสหรือทดลองพรอมทั้ง
สามารถสังเกต แยกแยะ จำแนก จดหมวดหมู่ เปรียบเทีนบและหาความสัมพันธ์ได้
การประเมิน
1.การสังเกตการณ์ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงจากการพาออกนอกห้องเรียน
2.สังเกตพฤติกรรมเด็มในขณะที่พาเด็กออกมาเรียนนอกห้องเรียน
3.สังเกตการตอบคำถามเพื่อจบเนื้อหาแต่ละครั้ง


  • เพื่อนนำเสนอการทดลองทางวิยาศาสตร์
การใช้คำถามระหว่างการทดลอง

1."เด็กๆเห็นอะไร...บ้างคะ"
2."เด็กคิดว่าสามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง?"
3. ถ้าครูนำ....วาง/ใส่....เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น "
4.เรามาทดลองไปพร้อมๆกันนะค่ะ  ให้เด็กๆสังเกตดูนะค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5.สรุปผลงานทดลอง
  • ส่งสื่อของเล่นและสื่อเข้ามุม
เสื่อของเล่นลูกข่างหรรษานำมาต่อยอดเป็นสื่อเข้ามุม ซึ่งมีลูกข่างหลากหลายรูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม อื่นๆ  เพื่อให้เด็กได้บูรณาการทางคณิตศาสตร์เรื่องรูปทรงและเปรียบเทียบระยะเวลาการหมุนของลูกข่างแต่ละรูปทรงด้วยค่ะ!



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 17

วันที่ 23 กันยายน 2556

เวลา 14.10-17.30น.

  • ให้เพื่อนกลุ่มที่ได้รัยมอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว สมมุติตัวเองเป็นครูสอนการทำข้าวผัด
  • โดยบอกส่วนผสมและขั้นตอนการทำอย่างละเอียด 
  • ทำข้าวผัดไปพร้อมๆกัน
  • การสาธิต
1."เด็กๆเห็นอะไร...บ้างคะ"
2."เราจะนำ...ไปทำอาหารอะไรได้บ้าง"
3."วันนี้เราจะมาทำข้าวผัดกัน เด็กรู้ไหมคะว่าต้องใส่อะไรก่อน"
4.ให้เด็กลงมือทำร่วมกับครู
5.ให้เด็กสังเกตสีของอาหาร "ถ้าครูใส่...ลงไปในกระทะ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น"
6.ครูิอธิบาย
กำลังตั้งใจผัดข้าวผัด

เพื่อนแต่ละกลุ่มกำลังตั้งใจผัดข้าวผัด


  • อาจารย์เบียสรุปกิจกกรม cookking

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่16

วันที่ 16 กันยายน 2556

เวลา 14.10-17.30น.


เรียนกับ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน ( อ.เบียร์ )

-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 5 กลุ่ม  เพื่อทำแผน เมนู Cooking 


กลุ่มดิฉันนทำแซนวิชไข่ดาว

วัถุดิบในการทำแซนวิชไข่ดาว

วิธีการทำแซนวิชไข่ดาว

แผนการสอน
แผนการสอน
นำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเอง
    ร่วมกันโหวต เมนูแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะมาทำอาหารในสัปดาห์หน้า ผลสรุปคือได้ทำข้าวผัด  โดยให้เพื่อนกลุ่มที่ทำข้าวผัดรับผิดชอบวัถุดิบและอุปกรณ์มาให้เพื่อนทำให้อาทิตย์ถัดไป

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่15

วันที่ 8 กันยายน 2556

เวลา 14.10-17.30น.

**เรียนชดเชยวันที่อาจารย์ติดประชุม**

  • ส่งสื่อเข้ามุม
  • อาจารย์แนะนำและบอกข้อที่ควรแก้ไขของสื่อแต่ละกลุ่ม
  • เนื่องจากเพื่อนมาเรียนน้อย อาจารย์จึงเช็คชื่อและปล่อยให้นักศึกษาไปแก้ไขสื่ออีกรอบ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่14

 วันที่ 2 กันยายน 2556

เวลา 14.10-17.30น.

**ไม่มีการเรียนการสอน**

(เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม)

แต่ได้มอบหมายงานให้ทำคือประดิษฐ์สื่อเข้ามุมวิทยศาสตร์

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่13

วันที่ 26 สิงหาคม 2556

เวลา 14.10-17.30น.


**ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมใน
คณะศึกษาศาสตร์**

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่12

 วันที่ 19 สิงหาคม 2556

เวลา 14.10-17.30น.


นำเสนอการลดลองทางวิยาศาสตร์

เรื่องรีโมทควบคุมลูกโป่ง

อุปกรณ์

1.ลูกโป่ง
2.กระป๋องน้ำอัดลม

ขั้นตอนการทดลอง

1.นำลูกโป่งที่เป่าแล้ว ไปถูกับเส้นผมประมาณ1นาที


2. นำลูกโป่งมาวางข้างกระป๋องน้ำอัดลม โดยไม่ให้ติดกับกระป๋อง
3. กระป๋องน้ำอัดลมจะเคลื่อนที่ตามลูกโป่ง


หลักการทางวิทยาศาสตร์
      เมื่อนำลูกโป่งไปถูกับเส้นผม ทำให้เกิดการเสียดสีกัน จึงทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต 
ไฟฟ้าสถิตเป็นพลังงานที่สามารถทำให้กระป๋องน้ำอัดลมเคลื่อนที่ได้นั่นเองคะ!